Be a fan on our Facebook CSJOY.COM

Products & Services - สินค้าและบริการ

Our Portfolio - ผลงานของเรา


 บ้านท่านอาจเป็นต้นเหตุของเพลิงไหม้ : Fire dangerous

การตรวจสอบระบบไฟฟ้าภายในบ้าน

บ้านที่เดินสายไฟฟ้าใช้งานมาแล้ว ต้องดำเนินการตรวจสอบอุปกรณ์ประกอบการใช้ไฟฟ้าด้วยตัวท่านเองได้ โดยตรวจสอบตามรายการต่างๆ ดังต่อไปนี้ และดำเนินการแก้ไขให้อยู่ในสภาพปกติก็จะหลีกเลี่ยงเหตุเพลิงไหม้เนื่องจากไฟฟ้าได้ คือ

1.สาย
2.แผงสวิตซ์ตัดตอนและฟิวส์
3.เต้ารับ
4.สวิตซ์ปิด-เปิดเครื่องใช้
5.อุปกรณ์ไฟฟ้า และเครื่องใช้ไฟฟ้า
6.หลอดไฟฟ้า

 

การตรวจสาย

สายไฟฟ้าทุกส่วนที่ใช้งาน ลักษณะสภาพเปลือกนอกต้องไม่แตกกรอบ ไม่เปลี่ยนสีเนื่องจากความร้อน และบริเวณขั้วต่อต้องขันให้แน่น ไม่ร้อน สายไม่ถูกรัด หรือบาดกับโลหะ ส่วนที่ทะลุผ่านผนังต้องมีฉนวนรองรับ สายไฟฟ้าดังกล่าว ได้แก่

1.สายเมนเข้าบ้านจากเสาไฟฟ้าเข้ามาที่บ้าน และต่อเข้าแผงสวิตซ์ตัดตอนและฟิวส์
2.สายที่ต่อออกจากแผงสวิตซ์ตัดตอนและฟิวส์
3.สายที่เดินภายในบ้าน
4.หากมีการต่อสายที่จุดใด จุดต่อสายจะต้องแน่น ไม่มีความร้อนขณะใช้งาน
5.สายเต้ารับ ต้องขันแน่นในที่จับยึด
6.สายเข้าสวิตซ์เปิด-ปิด ต้องขันยึดติดแน่นกับที่จับยึด ไม่มีความร้อนเมื่อเปิดใช้งาน

 การตรวจแผงสวิตซ์ตัดตอนและฟิวส์ (หรือตัดตอนอัตโนมัติ)

1.สวิตซ์ตัดตอน (หรือตัดตอนอัตโนมัติ) ไม่แตกร้าว
2.บริเวณขั้วต่อสายไม่ร้อน
3.ขั้วต่อสายเข้าสวิตซ์ตัดตอนต้องแน่นไม่ร้อน ขณะใช้งาน
4.ใบมีดสับ และขั้วสับใบมีดไม่ร้อน หรือมีรอยไหม้
5.ขั้วต่อสายเข้าฟิวส์ต้องแน่น ไม่ร้อนขณะใช้งาน
6.ฝาครอบฟิวส์ไม่แตกร้าว
7.จุดสัมผัสของฟิวส์ต้องแน่น ไม่ร้อน
8.ใช้ฟิวส์ไม่เกินขนาดหรือไม่ดัดแปลงให้ผิดขนาด
9.บริเวณใต้แผงสวิตซ์จะต้องไม่มีเชื้อเพลิง เช่น ผ้า กระดาษ

 

 

 การตรวจเต้ารับ

1.ฝาครอบเต้ารับไม่แตกร้าว

2.สายต่อเข้าเต้ารับต้องแน่น ไม่ร้อนขณะใช้งาน

3.ไม่มีรอยไหม้

4.ขณะใช้งานต้องแน่นพอดีกับปลั๊กเสียบไม่เกิดความร้อน

 การตรวจสวิตซ์ปิด-เปิด

1.ฝาครอบสวิตซ์ไม่แตกร้าว

2.สายเข้าสวิตซ์ขันให้แน่น ต้องไม่เกิดความร้อนขณะใช้งาน

3.ขณะเปิดใช้งาน ไม่มีความร้อน ผิดปกติที่ตัวสวิตซ์

 

 

การตรวจอุปกรณ์ และเครื่องใช้ไฟฟ้า

1.ปลั๊กเสียบ ไม่แตกร้าว หรือเสื่อมสภาพเนื่องจากความร้อน
2.สายต่อจากปลั๊กเสียบ ฉนวนต้องไม่เสื่อมสภาพหรือฉีกขาด
3.สายต่อจากปลั๊กเสียบ ต้องไม่ร้อนขณะใช้งาน
4.สายที่ต่อเข้าเครื่องใช้ จุดต่อต้องขันให้แน่น ไม่ร้อน ไม่เสื่อมสภาพ หรือฉนวนฉีกขาด
5.ตัวเครื่องใช้ ต้องไม่ร้อนผิดปกติ
6.เครื่องใช้ไฟฟ้าทุกชนิดจะต้องตั้งในที่มีการระบายอากาศและไม่มีเชื้อเพลิงอยู่ใกล้

 การตรวจหลอดไฟฟ้า

1.ขั้วหลอดฟลูออเรสเซนซ์ต้องแน่นไม่เกิดความร้อนที่ขาหลอดขณะใช้งาน

2.ไม่มีรอยไหม้ที่พลาสติกขั้วหลอด

3.บัลลาสต์ไม่มีกลิ่นเหม็นไหม้

4.ไม่ปล่อยให้หลอดกระพริบ

5.ไม่ปล่อยให้หัวหลอดแดงโดยหลอดไม่สว่าง

6.ไม่นำวัสดุติดไฟง่าย เช่น ผ้า กระดาษ ใกล้หรือปิดคลุมหลอดไฟฟ้า

การบำรุงรักษาและการใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าชนิดต่างๆ

 

 

 เตารีด

1.ส่วนที่เป็นโลหะต้องไม่มีไฟฟ้ารั่ว (ทดสอบโดยใช้ไขควงลองไฟ ถ้ามีไฟแดงถือว่ามีไฟรั่ว)

2.สายปลั๊กเสียบของเตารีดต้องได้ขนาด และทนกระแสใช้งานได้ไม่น้อยกว่าผู้ผลิตกำหนด

3.สายปลั๊กเสียบของเตารีด ฉนวนต้องไม่เสื่อมสภาพหรือฉีกขาด

4.ขั้วต่อสายที่ปลั๊กเสียบและที่ตัวเตารีด ต้องขันให้แน่น และไม่ร้อนขณะใช้งาน

5.ต้องคอยหมั่นตรวจสอบปลอกฉนวนยางที่หุ้มสายเข้าเตารีด มักจะชำรุด เปื่อย ฉีกขาดเนื่องจากความร้อนและถูกใช้งานบ่อย หากไม่รีบเปลี่ยน สายไฟบริเวณนั้นอาจชำรุดและลัดวงจรได้

6.ขณะใช้งาน เมื่อหยุดรีดต้องวางบนวัสดุที่ไม่ติดไฟง่าย

7.เมื่อเลิกใช้งานควรดึงปลั๊กเสียบออกจากเต้ารับและก่อนจะเก็บควรทิ้งให้เตารีดเย็นเสียก่อน

 หม้อหุงข้าว

1.ส่วนที่เป็นโลหะต้องไม่มีไฟฟ้ารั่ว (ทดสอบโดยใช้ไขควงลองไฟ ถ้ามีไฟแดงถือว่ามีไฟรั่ว)

2.สายปลั๊กเสียบหม้อหุงข้าวต้องได้ขนาด และทนกระแสใช้งานได้ไม่น้อยกว่าผู้ผลิตกำหนด

3.สายปลั๊กเสียบของหม้อหุงข้าว ฉนวนต้องไม่เสื่อมสภาพ แตกร้าว หรือฉีกขาด และไม่ร้อนขณะใช้งาน

4.ขั้วต่อสายที่ปลั๊กเสียบและที่ตัวหม้อหุงข้าวต้องเสียบให้แน่นสนิท หากหลวมต้องรีบเปลี่ยนทันที

5.เมื่อเลิกใช้งานควรดึงปลั๊กเสียบออกจากเต้ารับ

 

 

 พัดลมตั้งพื้น หรือตั้งโต๊ะ

1.ส่วนที่เป็นโลหะต้องไม่มีไฟฟ้ารั่ว (ทดสอบโดยใช้ไขควงลองไฟ ถ้ามีไฟแดงถือว่ามีไฟรั่ว)

2.สายปลั๊กเสียบต้องได้ขนาด และทนกระแสใช้งานได้ไม่น้อยกว่าผู้ผลิตกำหนด

3.สายปลั๊กเสียบ ฉนวนต้องไม่เสื่อมสภาพ แตกร้าว หรือฉีกขาด และไม่ร้อนขณะใช้งาน

4.เมื่อเลิกใช้งานควรดึงปลั๊กเสียบออกจากเต้ารับ

5.หากมีกลิ่นไหม้ หรือเสียงดังผิดปกติ ควรหยุดใช้งานจนกว่าจะได้รับการแก้ไขเรียบร้อยแล้ว

6.ไม่ควรมีวัสดุติดไฟใกล้บริเวณพัดลม เช่น ผ้าม่าน เสื้อผ้าที่แขวน หรือกองหนังสือ

 พัดลมติดเพดาน หรือฝาผนัง

1.ส่วนที่เป็นโลหะต้องไม่มีไฟฟ้ารั่ว (ทดสอบโดยใช้ไขควงลองไฟ ถ้ามีไฟแดงถือว่ามีไฟรั่ว)

2.สายอ่อนที่ตัวพัดลมฉนวนต้องไม่เสื่อมสภาพแตกร้าวหรือฉีกขาด และไม่ร้อนขณะใช้งาน

3.อย่าเปิดสวิตซ์ทิ้งไว้ เมื่อไม่มีใครอยู่ เพราะจะทำให้มอเตอร์พัดลมร้อน จนทำให้พลาสติกละลายลุกติดไฟได้

4.หากมีกลิ่นไหม้ หรือเสียงดังผิดปกติ ควรหยุดใช้งานจนกว่าจะได้รับการแก้ไขเรียบร้อยแล้ว

5.เมื่อเปิดสวิตซ์แล้วพัดลมไม่หมุน ควรปิดสวิตซ์ไว้ตำแหน่งเดิม แล้วรีบตรวจสอบซ่อมแก้ไขให้ใช้งานได้

 

 

 กาต้มน้ำ

1.ส่วนที่เป็นโลหะต้องไม่มีไฟฟ้ารั่ว (ทดสอบโดยใช้ไขควงลองไฟ ถ้ามีไฟแดงถือว่ามีไฟรั่ว)

2.สายปลั๊กเสียบต้องได้ขนาด และทนกระแสใช้งานได้ไม่น้อยกว่าผู้ผลิตกำหนด

3.สายปลั๊กเสียบ ฉนวนต้องไม่เสื่อมสภาพ แตกร้าว หรือฉีกขาด และไม่ร้อนขณะใช้งาน

4.ขณะใช้งานควรวางบนพื้นที่ไม่ติดไฟ

5.เมื่อเลิกใช้งานควรดึงปลั๊กเสียบออกจากเต้ารับ

6.ไม่ควรตั้งวางใกล้วัสดุติดไฟ เช่น ผ้า กระดาษ ฯลฯ

 เตาไฟฟ้า

1.ส่วนที่เป็นโลหะต้องไม่มีไฟฟ้ารั่ว (ทดสอบโดยใช้ไขควงลองไฟ ถ้ามีไฟแดงถือว่ามีไฟรั่ว)

2.สายปลั๊กเสียบต้องได้ขนาด และทนกระแสใช้งานได้ไม่น้อยกว่าผู้ผลิตกำหนด

3.สายปลั๊กเสียบ ฉนวนต้องไม่เสื่อมสภาพ แตกร้าว หรือฉีกขาด และไม่ร้อนขณะใช้งาน

4.ขณะใช้งานควรวางบนพื้นที่ไม่ติดไฟ

5.เมื่อเลิกใช้งานควรดึงปลั๊กเสียบออกจากเต้ารับ

6.ไม่ควรตั้งวางใกล้วัสดุติดไฟ เช่น ผ้า กระดาษ ฯลฯ

 

 

 กระทะไฟฟ้า

1.ส่วนที่เป็นโลหะต้องไม่มีไฟฟ้ารั่ว (ทดสอบโดยใช้ไขควงลองไฟ ถ้ามีไฟแดงถือว่ามีไฟรั่ว)

2.สายปลั๊กเสียบต้องได้ขนาด และทนกระแสใช้งานได้ไม่น้อยกว่าผู้ผลิตกำหนด

3.สายปลั๊กเสียบ ฉนวนต้องไม่เสื่อมสภาพ แตกร้าว หรือฉีกขาด และไม่ร้อนขณะใช้งาน

4.ขณะใช้งานควรวางบนพื้นที่ไม่ติดไฟ

5.เมื่อเลิกใช้งานควรดึงปลั๊กเสียบออกจากเต้ารับ

6.ไม่ควรตั้งวางใกล้วัสดุติดไฟ เช่น ผ้า กระดาษ ฯลฯ

 เครื่องปิ้งขนมปัง

1.ส่วนที่เป็นโลหะต้องไม่มีไฟฟ้ารั่ว (ทดสอบโดยใช้ไขควงลองไฟ ถ้ามีไฟแดงถือว่ามีไฟรั่ว)

2.สายปลั๊กเสียบต้องได้ขนาด และทนกระแสใช้งานได้ไม่น้อยกว่าผู้ผลิตกำหนด

3.สายปลั๊กเสียบ ฉนวนต้องไม่เสื่อมสภาพ แตกร้าว หรือฉีกขาด และไม่ร้อนขณะใช้งาน

4.ขณะใช้งานควรวางบนพื้นที่ไม่ติดไฟ

5.เมื่อเลิกใช้งานควรดึงปลั๊กเสียบออกจากเต้ารับ

6.ไม่ควรตั้งวางใกล้วัสดุติดไฟ เช่น ผ้า กระดาษ ฯลฯ

 

เครื่องปรับอากาศ

1.ส่วนที่เป็นโลหะต้องไม่มีไฟฟ้ารั่ว (ทดสอบโดยใช้ไขควงลองไฟ ถ้ามีไฟแดงถือว่ามีไฟรั่ว)

2.หากมีสายปลั๊กเสียบ สายต้องได้ขนาด และทนกระแสใช้งานได้ไม่น้อยกว่าผู้ผลิตกำหนด

3.สายปลั๊กเสียบ ฉนวนต้องไม่เสื่อมสภาพ แตกร้าว หรือฉีกขาด และไม่ร้อนขณะใช้งาน

4.ไม่ควรติดตั้งใกล้วัสดุติดไฟ เช่น ผ้าม่าน ฯลฯ

5.หากทำงานผิดปกติ เข่น มีเสียงดัง ฯลฯ ควรให้ช่างตรวจสอบแก้ไข

6.หมั่นตรวจสอบ ล้าง ทำความสะอาด ตามระยะเวลาที่ผู้ผลิตกำหนด

7.ไม่เปิดเครื่องทิ้งไว้

         อนึ่งเพื่อป้องกันการหลงลืมเปิดเครื่องใช้ไฟฟ้าไว้เมื่อออกจากบ้าน ท่านควรเตรียมแยกวงจรสำหรับเครื่องใช้ที่ต้องใช้ไฟฟ้าอย่างต่อเนื่อง เช่น ตู้เย็น หรือระบบป้องกันโจรกรรม ฯลฯ และ วงจรสำหรับส่วนที่ต้องการปิดเมื่ออกจากบ้าน ซึ่งวงจรนี้ก่อนออกจากบ้านท่านต้องปลดวงจรนี้ออกทุกครั้ง

Source : การไฟฟ้านครหลวง  
Create By : Kanyapak McManus 

Design by Kanyapak McManus : CSJOY.COM Be a fan on facebook fanpage
CSJOY.COM WEBBOARD-กระดานสนทนา

scarecrow.gif

สวัสดีค่ะ-  กลับเข้าสู่หน้าแรก : Go to main page  สวัสดีครับ

Copyright(c) by CSJOY.COM, All rights reserved. Identification Number of DBD Thailand 0207314801370